มะกอกโอลีฟ

ที่มา

จากที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้มีพระราชปรารภกับนายแก้วขวัญ วัชโรทัย เลขาธิการพระราชวังและผู้อำนวยการโครงการส่วนพระองค์ฯ สวนจิตรลดา       ถึงเรื่องมะกอกโอลีฟมีคุณค่าและประโยชน์หลายด้าน อีกทั้งมีพระราชกระแสกับหลายหน่วยงาน   เช่น    คณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ    มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์   มหาวิทยาลัยขอนแก่น  ฯลฯ

ในการนี้ เลขาธิการพระราชวัง ได้ให้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ศึกษาและดำเนินการทดลองปลูกมะกอกโอลีฟ (Olea europaea  L.) ในประเทศไทยในส่วนของโครงการส่วนพระองค์

ลักษณะทางพฤษศาสตร์

ชื่อพื้นเมือง : มะกอกโอลีฟ
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Olea europaea  L.
ชื่อวงศ์ : OLEACEAE
ชื่อสามัญ : Olive
มะกอกโอลีฟเป็นไม้ต้นไม่ผลัดใบ ลำต้นอาจสูงถึง 20 เมตรใบ เดี่ยวเรียงตรงข้ามกัน รูปใบหอก กว้าง 1-1.5 เซนติเมตร ยาว 5-6 เซนติเมตร ปลายใบแหลมหรือมนแคบ มีติ่งเล็กๆ โคนรูปลิ่ม ขอบเรียบ ก้านใบสั้น ยาว 3-4 มิลลิเมตร ผิวด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมัน ผิวใบด้านล่างสีเทา ดอก ช่อแยกแขนงออกที่ซอกใบ ดอกฝอยมีทั้งดอกสมบูรณ์เพศและดอกไม่สมบูรณ์เพศ ก้านดอกยาว กลีบเลี้ยง 4 กลีบ โคนเชื่อมติดกัน กลีบดอก 4 กลีบโคนเชื่อมติดกัน ดอกมีสีขาวหรือสีครีม เกสรตัวผู้ 2 อัน ขนาดใหญ่ติดที่กลีบดอก อับเรณูสีเหลืองลักษณะเป็น 2 พู รังไข่มี 2 คาร์เพลแต่ละคาร์เพลมี 2 ออวุล ก้านเกสรเพศเมียตรง สั้นและหนา ยอดเกสรเพศเมียค่อนข้างใหญ่ ผล สด มีเนื้อ รูปร่างกลมรี ยาว 1-4 เซนติเมตร กว้าง 0.6-2 เซนติเมตร สีผลมีสีต่างๆ เช่น สีเขียว สีแดง สีม่วงหรือสีดำ มีเมล็ดแข็ง ผล มะกอกโอลีฟมีเมล็ดในเดี่ยวและมีรูปทรงค่อนข้างกลม อาจจะกลมน้อย หรือกลมมากแตกต่างกันไป ส่วนขนาดของผลขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ ผลประกอบด้วยส่วนของเปลือกชั้นนอก ซึ่งสีจะเปลี่ยนเมื่อผลสุก เนื้อมะกอกโอลีฟเป็นส่วนที่มีปริมาณน้ำมันมากที่สุด  ส่วนเมล็ดในเป็นเมล็ดที่แข็ง ลักษณะยาวและมีตุ่มอยู่ตรงส่วนบนของเมล็ดห่อหุ้มเมล็ดพันธุ์ที่อยู่ด้านในซึ่งพบว่ามีทั้งคัพภะ (embryo) และในโภชนาสาร

ลักษณะทางภูมิศาสตร์

นิเวศวิทยา
พื้นที่ที่นิยมปลูกมะกอกโอลีฟโดยมากจะอยู่ในช่วงระหว่างเส้นรุ่งที่ 30องศา ถึง 45 องศาเป็นได้ทั้งในซีกโลกตอนเหนือ ซึ่งได้แก่ บริเวณทะเลเมดิเตอร์เรเนียน อัฟริกาตอนเหนือ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และเม็กซิโก และซีกโลกตอนใต้ บริเวณออสเตรเลีย และบางประเทศในเขตอัฟริกาใต้ ซึ่งจะเป็นพื้นที่ที่สภาพ ภูมิอากาศมีลักษณะเด่นคือเป็นฤดูร้อนที่ร้อนและแห้ง

การกระจาย
มะกอกโอลีฟมีถิ่นบานเดิมซึ่งเริมมาตั้งแต่ประเทศ แถบบอลข่าน ที่ราบสูงในอิหร่าน ปาเลสไตน์ จนถึงแถบชายฝั่งของซีเรียต่อมาได้กระจายมาถึง Chipre 1 ต่อไปทาง Anatolio1 ผ่าน Crete 1 ไปจนถึงอียิปต์ จนกระทั่งกระจายไปทั่วบริเวณลุ่มแม่น้ำที่ติดกับชายฝั่งของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และจากการค้นพบทวีปอเมริกาการปลูกมะกอกโอลีฟจึงได้แพร่ออกไปสู่โลกใหม่ด้วยเช่นกัน ซึ่งในปัจจุบันได้มีการปลูกในแถบอเมริกาใต้จีน ญี่ปุ่นและออสเตรเลีย อีกด้วย

การปลูกและดูแลรักษา

        การปลูกมะกอกโอลีฟแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ใช้ระยะห่างระหว่างแถวปลูกอย่างน้อย 6เมตร สำหรับระยะห่างระหว่างต้นในแถวปลูกนั้นขึ้นอยู่กับสภาพการจัดการแปลงและวัตถุประสงค์การใช้ประโยชน์ของผลผลิต ที่นิยมปลูกกันใบแถบนี้ได้แก่ 6×8,7×7,5×6 เมตร ซึ่งง่ายต่อการดูแลจัดการ ส่วนระยะปลูก 4×6 เมตร นั้นก็สามารถที่จะปลูกได้แต่เมื่อต้นมะกอกโอลีฟขึ้นก็จะมีการจัดการเอาต้นมะกอกโอลีฟออกบ้างเพื่อไม่ให้ต้นมาชนกัน ซึ่งจะเกิดผลเสียกับผลผลิตมะกอกโอลีฟได้

   การปลูกมะกอกโอลีฟในเขตเมดิเตอร์เรเนียนโดยทั่วไปจะทำการปลูกในระหว่างเดือนตุลาคมถึงเดือนพฤศจิกายน หรือระหว่างเดือนเมษายนถึงเดือนพฤษภาคม โดยนำต้นกล้าที่แข็งแรงและพร้อมปลูกมาริดใบออกราว ๆ 80 %จากนั้นนำไปปลูกในหลุมปลูกขนาดกว้าง-ยาว 50 เซนติเมตร และลึก 50-80 เซนติเมตร

การให้ผลผลิต

ต้นมะกอกโอลีฟ สามารถให้ผลผลิตภายหลังการปลูกตั้งแต่ 5-7 ปี ขึ้นไปและจะให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นจนถึงอายุ 35 ปี จึงเริ่มให้ผลผลิตเต็มที่จากนั้นหากมีการปฏิบัติดูแลรักษาอย่างถูกต้องและสม่ำเสมอจะสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตอย่างต่อเนื่องไปได้ถึงอายุ 150 ปี อย่างไรก็ตาม ในพื้นที่แห้งแล้ง การให้ผลผลิตจะล่าช้าออกไปเป็น 10-15 ปีหลังจากปลูกในการเก็บเกี่ยวผลผลิตมะกอกโอลีฟในสมัยก่อน ใช้วิธีเก็บด้วยมือ และยังมีการใช้ไม้ยาวตีที่กิ่ง หรือใช้วิธีเขย่ากิ่งให้ผลมะกอกโอลีฟตกลงบนผ้าที่ปูรองรับใต้ต้น ซึ่งการเก็บด้วยมือต้องใช้แรงงานมากและต้นทุนสูงต่อมาจึงหันมาใช้เครื่องทุ่นแรงและเครื่องจักรกลมากขึ้น โดยได้มีการพัฒนาเครื่องจักรกลเพื่อการเก็บเกี่ยวผลมะกอกโอลีฟขึ้นเพื่อทุ่นแรงงานในการเก็บเกี่ยว เครื่องจักรกลที่ใช้มีขนาดเล็กที่สามารถเข้าไปทำงานในระหว่างแถวปลูกได้

มะกอกโอลีฟสามารถแบ่งเป็นประเภทตามการใช้ประโยชน์ดังนี้
1. เพื่อการผลิตน้ำมัน ได้แก่พันธุ์ Picual,Picudo,Arbequina,Cornicabra เป็นต้น
2. เพื่อรับประทานผล ได้แก่พันธุ์ Manzanilla,Gordal,Cacerena เป็นต้น
3. เพื่อผลิตน้ำมันและรับประทานผล ได้แก่พันธุ์ Hojiblanca,Pico Limon เป็นต้น

พื้นที่ปลูกในประเทศไทย

หน่วยงานที่ร่วมสนองพระราชดำริฯในการทดลองปลูกต้นมะกอกโอลีฟ
  • โครงการส่วนพระองค์ฯสวนจิตรลดา
  • โครงการส่วนพระองค์ฯสวนจิตรลดา จ.กรุงเทพฯ *
  • สวนอุไทยธรรม จ.ปทุมธานี *
  • ศูนย์อนุรักษ์พันธุกรรมพืช คลองไผ่ จ.นครราชสีมา
  • ศูนย์ฝึกโรงวัว ของศูนย์บริการพัฒนา ขยายพันธุ์ไม้ดอกไม้ผลบ้านไร่อันเนื่องมาจากพระราชดำริ
  • มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง วิทยาเขตชุมพร
  • สถาบันวิจัยและฝึกอบรมการเกษตรลำปาง
    กองทัพเรือ
  • กองเรือยุทธการ สวนอาภากร จ.ชลบุรี *
  • กรมสวัสดิการทหารเรือ ศูนย์กสิกรรมทหารเรือ *โยทะกา จ.ฉะเชิงเทรา
  • สำนักงานทหารพัฒนา หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา กองบัญชาการทหารสูงสุด
  • กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแด
  • กรมวิชาการเกษตร
  • ศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ จ.ศรีสะเกษ *
  • สถานีทดลองพืชสวนเพชรบุรี จ.เพชรบุรี *
  • สถานีทดลองเกษตรที่สูงภูเรือ จ.เลย *
  • สถานีทดลองเกษตรที่สูงเขาค้อ จ.เพชรบูรณ์ *
  • สถานีทดลองเกษตรที่สูงวาวี จ.เชียงราย *
  • บริษัทอุตสาหกรรมปิโตเลียมคัลไทย จำกัด (มหาชน)
  • ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.เพชรบุรี
  • ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.สกลนคร
  • ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.ฉะเชิงเทรา
  • บริษัทอุตสาหกรรมปิโตรเคมีคัลไทย จำกัด (มหาชน) จ.ระยอง
  • ไร่กิ่งทอง จ.บุรีรัมย